Saturday, October 7, 2017

KiCad ตอนที่ 2: การทำงานแบบ offline footprints

ถ้าเรามีปัญหาต่อไปนี้ :-

1. อินเตอร์เน็ต ช้า ทำให้โหลด footprint นานมาก  และเสียเวลาในขั้นตอนพัฒนา ที่อาจจะต้องมีการแก้ไขหรือเปลี่ยน footprint บ่อย ๆ อันที่จริง Files  ทั้งหลายก็มีขนาดไม่ใหญ่มาก แต่เอาแน่เอานอนไม่ได้กับเวลาที่ต้องใช้ในการโหลดข้อมูล  (การทำ offline จะเสียเวลาโหลดที่แน่นอน ขึ้นกับ RAM และความเร็ว Hard drive ของ PC ที่ใช้)
2.  เครื่องที่ใช้ไม่สามารถต่อ อินเตอร์เน็ตได้ ในบางเวลา  (อันนี้จำเป็นต้องทำ)

ก็อาจมีความจำเป็นที่จะต้อง  ตั้งค่าให้ KiCad ทำงานแบบ Offline  แต่ถ้าไม่มีปัญหาดังกล่าว  ก็ควรจะทำแบบ Online เพราะฟังก์ชั่นหลายอย่างใน KiCad จะทำงานเมื่อเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต หากเราไม่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต Eeschema  ยังสามารถทำงานได้  แต่จะดูข้อมูลบางอย่าง เช่น Data sheet ของอุปกรณ์ไม่ได้  และเมื่อทำงานมาถึงขั้นตอนเรียกใช้ CvPCB ใน  Eeschema   จะเกิด  Error ตามรูป ที่ 1
รูปที่ 1 CvPCB's Error ที่เกิดจาการไม่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
หรือ  กรณีที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตอยู่  แต่ footprint library ที่ Github  มีการเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกไปก็จะเกิด Error เช่นกัน  และเราจะไม่สามารถเลือก footprint ได้ ตามรูปที่ 2

รูปที่ 2 CvPCB's Error no footprints

การแก้ไขหรือการตั้งให้ทำงานแบบ offline มีดังนี้



วิธีที่  1. ใช้โปรแกรมพวก text editor หรือ โปรแกรมอะไรก็ได้ ที่สามารถ  Save ไฟล์ให้อยู่ในรูป *.txt

1. ปิด โปรแกรม Kicad ทั้งหมดที่เปิดอยู่
2. เปิด File ที่ชื่อว่า fp-lib-table ที่อยู่ใน directory  c:\users\???\appdata\roaming\kicad  ??? = ชื่อ user ที่เป็นเจ้าของเช่น  c:\users\mcuroom\appdata\roaming\kicad  ด้วย text editor จะเห็นหน้าตาดังนี้

รูปที่ 3 fp-lib-table เมื่อใช้งานครั้งแรก

หมายเหตุ :
  • สมมุติเรา ติดตั้ง KiCad ตามค่า default  คือ c:\program files\KiCad  ให้ browse เข้าไปที่  c:\program files\KiCad \share\KiCad\modules  เราจะเห็น Folder จะนวนมากที่มีนามสกุล *.pretty  ซึ่งก็คือ footprint library ที่ถูกแบ่งเป็นกลุ่มๆ และมีให้ตั้งแต่ตอนติดตั้ง   แต่  URIของ CvPCB ไม่ได้ชี้มาที่นี่ แต่ชี้ไปบน Github แทน
  • ควรจะทำการ Backup file  fp-lib-table ในชื่ออื่นก่อนแก้ไข เช่น fp-lib-table-online  เกิดเราอยากจะให้มันกับมา online ก็ rename   fp-lib-table  เป็น fp-lib-table-offline และ  fp-lib-table-online กลับไปเป็น fp-lib-table 


2. ใช้คำสั่ง Find and Replace   (กรณีใช้ Notpad++) โดย
      2.1 หาคำว่า “type Github” และแทนที่ด้วย “type  KiCad” ทั้งหมด
      2.2 หาคำว่า ${KIGITHUB} และแทนที่ด้วย  "$(KISYSMOD)   (อย่าลืมเครื่องหมาย " เด็ดขาด มีแค่ตัวเดียวข้างหน้า)
      2.3 หาคำว่า ) (options และแทนที่ด้วย  ") (options  (มีเครื่องหมาย " เพิ่มมาข้างหน้าแค่ตัวเดียว)
      2.4 Save  หรือ Save asไฟล์    ใน Windows 10 อาจจะติดเรื่องสิทธิ์  อาจมีข้อความ You don’t have permission to save this location   ก็ให้ Save  as ไปที่ directory อื่นเช่น documents จากนั้นใช้ file explorer  copy มาทับที่เดิม

วิธีนี้ทำได้เร็วไม่เสียเวลาโหลดข้อมูล  แต่มีข้อเสีย คือ ถ้าใช้ Kicad version เก่าๆ footprints ที่ให้มาตอนติดตั้งอาจจะน้อยกว่าเวอร์ชั่นปัจจุบัน (ตอนเขียนนี้ 4.07) สุดท้ายจะได้ ไฟล์ fp-lib-table ใหม่ดังนี้

รูปที่ 4 fp-lib-table เมื่อแก้ไข (offline)
จากรูปที่ 2 เมื่อเลือก Preference -→Footprint libraries  จะปรากฏหน้าต่างใหม่ตามรูปที่ 5
รูปที่ 5 fp-lib-table (offline) 
หมายเหตุ :
ตรวจดูให้แน่ใจว่า KISYSMOD  ที่ Environment Variableในรูปที่ 5 ชี้ไปยัง Path ที่ถูกต้อง 
ในรูปที่ 5 นี้ ติดตั้ง KiCad ที่ directory c:\KiCad  ถ้าติดตั้งที่ ตาม KiCad’s default จะชี้ไปที่ c:\program files\kicad\share\kicad\modules

วิธีที่  2.  Copy footprint มายัง local ด้วย append with wizard   (ใช้เวลานาน แต่ได้ข้อมูลล่าสุด)
ไม่จำเป็นต้องทำบ่อย เพราะปัจจุบัน footprint ใน KiCad มีมากพอ และสามารถโหลดจากผู้ผลิตอุปกรณ์ได้โดยตรง หรือสร้าง footprint เองได้

1.  จากรูปที่ 2 เลือก Preference -→Footprint libraries  จะปรากฏหน้าต่างใหม่ตามรูปที่ 6
รูปที่ 6 fp-lib-table เมื่อใช้งานครั้งแรก
2.ให้  Remove library ทั้งหลายที่ Plugin Type เป็น Github เนื่องจากมันชี้ที่อยู่ของ Library ไปที่ Github  โดยคลิ๊ก ที่ Remove Library  ไปจนกว่า Library จะถูกลบจนหมด  (ไม่สามารถ Highlight  หรือ Select all ด้วยการกด Shift ค้างแล้วเลือกได้  มันถูกป้องกันไว้เพื่อกันความผิดพลาด) สามารถลบได้ทีละ 1 บรรทัดเท่านั้น  ถ้าไม่ลบแล้ว Append เลยจะยิ่งโหลดช้าหนักเข้าไปอีก รวมทั้งจะมีแจ้ง Duplicated library

3. เมื่อลบหมดแล้ว ให้ เลือก Append with wizard จะปรากฏหน้าต่างใหม่ดังรูปที่ 7

รูปที่ 7 Add footprint wizard
หมายเหตุ :
Default directory ในการติดตั้งของ KiCad คือ  c:\program files\KiCad\  ซึ่งใน Windows 10  จะไม่ยอมให้มีการเขียนไฟล์เพิ่มลงไปหลังติดตั้ง  ถ้าไม่มีสิทธิ์ในระดับ Administrator  ดังนั้นเราจะเขียนไฟล์ใหม่ หรือ update ไฟล์ใน directory ที่อยู่ภายใน  c:\program files\ ไม่ได้ ดังนั้นในขั้นตอนการติดตั้ง KiCad  ควรเลือกติดตั้งไปที่ อื่นแทน เช่น C :\  (แต่จะไม่ได้รับการป้องกันเบื้องต้น จาก Windows)

        3.1เลือก Gihub respository และ Save a local copy to:   แล้วคลิ๊ก Browse เลือก Directory ที่จะติดตั้ง แล้วคลิ๊ก Next มันจะทำการตรวจสอบ( Validate) Library ที่ Github ว่าพร้อมให้ download หรือไม่  อาจจะมีบาง libray ที่ขึ้น Invalid เนื่องจากถูกลบออกไปจาก Github หรืออยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลง  ขั้นตอนนี้ยังไม่มีการ download  footprints แต่อย่างไร และใช้เวลานานพอสมควร

3.2  ตามรูปที่ 8 เลือก To global library  เมือคลิ๊ก Finish KiCad จึงจะเริ่มโหลด Library จาก Github  มันจะใช้เวลานานมาก   แม้ footprint library จะมีขนาดเพียง  78-80 MB ณ . ตอนที่เขียนนี้

รูปที่ 8 Add footprint wizard
          3.3 ไปชงกาแฟกิน หรือนั่งสวดภวนาขอให้ ไม่มี Error เกิดขึ้น  ขั้นตอนนี้อย่างเร็ว 5 นาที แต่ถ้าดวงเฮ็งอาจนานมากกว่า 10 นาที (ถ้ามีคนใช้ Server ต้นทางพร้อมๆ กันเยอะๆ)  และอาจมี Error เกิดขึ้นบ้าง  ไม่ได้เสียหายมากมาย เนื่องจากบาง footprint library โหลดไม่สำเร็จ   เมื่อสำเร็จจะเห็นว่า Plugin type จะเปลี่ยนเป็น KiCad  ตามรูปที่ 5 ข้างบน

URI ของ Library จะเปลี่ยนเป็น $(KISYSMOD)  และ Plugin type จะเป็น KiCad   ให้สังเกตุ  KISYSMOD  path ตรง environment variable ด้วยว่าตรงกันกับ  directory ที่เราติดตั้งในข้อ 3.1 ถ้าไม่ตรงกัน ต้องแก้ไขให้ตรงกัน  เป็นอันเสร็จ

วิธีนี้แม้จะทำให้สามารถทำงาน offline ได้ แต่ก็ยังมีปัญหาตรงที่ ถ้าจะ Update ข้อมูลใหม่ ต้องเสียเวลา Remove libray และ  Append libray  กันไปทุกครั้ง  ใน Linux มี Shell script ให้อับเดทข้อมูลได้  แต่มีปัญหาว่า ถ้ามี footprint ใหม่เข้ามาที่ีไม่อยู่ในกลุ่มที่สร้างไว้ตอนแรก มีประมาณ 86 กลุ่ม (นามสกุล *.pretty)  เช่น เกิดมี  footprint ของBanana Pi  โผล่ขึ้นมา มันจะไม่ถูก Add เข้าไปใน KiCad footprint library  ใน Windows มีวิธีทำเช่นกันแต่ยุ่งยากกว่า


วิธีที่ 3. กล่าวตอนหน้า


008

Author & Editor

กรุณา อย่าเขียนความคิดเห็นที่ไม่เกี่ยวกับบทความ หรือข้อความที่พาดพิงผู้อื่นในลักษณะที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น

0 comments:

Post a Comment

 
biz.